วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

บทกวีกล่าวถึงทุกข์ของชาวนา

             บทกวีกล่าวถึงทุกข์ของชาวนา
         บทกวีจีนบทหนึ่ง  ผู้แต่งชื่อหลี่เชิน  ชาวเมืองอู่ซี  มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 772 ถึง 846  สมัยราชวงศ์ถัง  ท่านหลี่เชินได้บรรยายความในใจไว้เป็นบทกวีภาษาจีน  ข้าพเจ้าจะพยายามแปลด้วยภาษาที่ขรุขระไม่เป็นวรรณศิลป์เหมือนบทกวีของ  จิตร ภูมิศักดิ์
                                                       หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ  ข้าวเมล็ดหนึ่ง
                                                       จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
                                                       รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
                                                       แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
                                                       ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน  ชาวนายังพรวนดิน
                                                       เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
                                                       ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
                                                       ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
               กวีผู้นี้รับราชการมีตำแหน่งเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในชนบท  ฉะนั้นเป็นไปได้ที่เขาจะได้เห็นความเป็นอยู่ของราษฎรชาวไร่ชาวนาในยุคนั้น  และเกิดความสะเทือนใจจึงได้บรรยายความรู้สึกออกเป็นบทกวีที่เขาให้ชื่อว่า  "ประเพณีดั้งเดิม"  บทกวีของหลี่เชินเรียบ ๆ ง่าย ๆ แต่ก็แสดงความขัดแย้งชัดเจน  แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ของผู้ผลิตเท่าที่ควร
               เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับจิตรต่างกัน  คือ  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง
               เวลานี้สภาพบ้านเมืองก็เปลี่ยนไป  ตั้งแต่สมัยหลี่เชินเมื่อพันปีกว่า  สมัยจิตร  ภูมิศักดิ์เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว  สมัยที่ข้าพเจ้าได้เห็นเองก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันนัก  ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็ยังคงจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป

ทุกข์ของชาวนา

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา  เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย  แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม
ผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 
ลักษณะคำประพันธ์
ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน
ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา
ความเป็นมา
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์
ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41
พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิต
และความทุกข์ของชาวนาที่มีสภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันนัก

                                                            "เปิบข้าวทุกคราวคำ                     จงสูจำเป็นอาจิณ
                                                       เหงื่อกูที่สูกิน                                      จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                                                           ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                                                       เบื้องหลังสิทุกข์ทน                            และขมขื่นจนเขียวคาว
                                                           จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                                       จากกรวงเป็นเม็ดพราว                        ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                                                           เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                                                       ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                 จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                                                           น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                                                       สายเลือดกูท้งสิ้น                                ที่สูชดกำชาบฟัน"

ความหมายของคำว่าซื่อสัตย์

 ความหมายของคำว่าซื่อสัตย์

  พจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า “ ซื่อ ” ว่าหมายถึง ตรง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่คดโกง ส่วนคำว่า “ ซื่อตรง ” หมายถึง ความประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่คดโกง และ “ ซื่อสัตย์ ” หมายถึง ความประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกหลวง หรือเราอาจจะพูดง่ายๆว่าคนที่ซื่อสัตย์ ก็คือ คนที่เป็นคนตรง ประพฤติสิ่งใดก็ด้วยน้ำใสใจจริง
          ความซื่อสัตย์นั้นมีหลายอย่าง เช่น ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความซื่อสัตย์ต่อครอบครัว ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์ต่อมิตร และความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ
          มีพุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ สจฺเจน กิตฺตี ปปฺโปติ ” แปลว่า “ คนเราจะบรรลุถึงเกียรติได้เพราะความสัตย์ ” นั้นก็หมายความว่า คนที่จะมีเกียรติ ย่อมต้องเป็นคนที่มีความสัตย์ซื่อ จึงจะเป็นที่ยอมรับนับถือของคนในสังคมได้อย่างจริงใจ โดยไม่ต้องไม่เสแสร้ง
          “ ความซื่อสัตย์ ” เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะ หากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย ไม่สงบ คนจะเอารัดเอาเปรียบกัน และเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย

ครูลิลลี่